วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา


โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันมีนายมาโนช  รวยลาภ เป็นผู้อำนวยการ
ในระยะแรกอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนวัดมวกเหล็กนอก (ราษฎร์พัฒนา) มีนักเรียน 46 คน และครู 6 คน มีนายทวี จันทวร เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ต่อมาได้ย้ายมาตังในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีเนื้อที่ 41 ไร่ 0 งาน 13 ตารางวา มีอาคารเรียน 1 หลังเป็นแบบ 216 ล ซึ่งเป็น อาคาร 1 ในปัจจุบัน ปีการศึกษา 2521 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ และจำนวนนักเรียนชั้น ม.1 เพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง [1]
ปีการศึกษา 2522 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุม 1 หลังอาคารโรงฝึกงาน 3 หลัง จำนวน 6 หน่วยอาคารพยาบาลและสหกรณ์จำนวน 1 หลัง
ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีแผนการเรียน 2 แผนการเรียน ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนเกษตรกรรม
ปีการศุกษา 2528 ได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุในการดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อสค)เพื่อสร้างสนามกีฬา จำนวน 7 ไร่ 0 งาน 05 ตารางวา
ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการนำร่อง "การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2524 เพื่อประกอบอาชีพอิสระ"ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนจึงได้เปิดผนการเรียนอาชีพอิสระเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนการเรียน และในปีนี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรประจำปีการศึกษา 2532 โรงเรียนได้จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็น 6-5-5 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 3-2-2 รวมจำนวนห้องเรียน 23 ห้อง
ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร มีนักเรียน 802 คน ครู-อาจารย์ 47 คน จำนวนห้องเรียน 23 ห้อง นักการภารโรง 5 คน และพนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ"หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน"
ปีการศึกษา 2555 มีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 68 คน ครูอัตราจ้าง 8 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,600 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2556 ปัจจุบันมีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 63 คน ครูอัตราจ้าง 12 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,589 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
  • ปรัชญาโรงเรียน : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา บูชาคุณธรรม นำชุมชน
  • สีประจำโรงเรียน : สีเลือดหมู และสีเหลือง
  • ตราประจำโรงเรียน : ตราประจำโรงเรียนมีสัญลักษณ์และความหมาย ดังนี้
    • ดวงเทียน : ครูผู้ให้ความรู้แก่นักเรียน
    • รัศมี : แสงสว่างนำทางนักเรียนและชุมชน
    • ธมฺมจารี สุขํ เสติ : ความหมาย ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข
    • ภูเขา ท้องฟ้า เมฆ : ธรรมชาติที่รอบล้อมโรงเรียน
    • ต้นกล้า : นักเรียนทุกคนที่กำลังเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นประดู่แดง
  • เพลงประจำโรงเรียน : มาร์ชม.ว.

วิถีไทย วิถีโคนม (คาวบอย)

ปรัชญาของโรงเรียน

สามัคคี   มีวินัย  ใฝ่ศึกษา  บูชาคุณธรรม  นำชุมชน
สามัคคี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลกว่า 50 ปี ด้วยการพระราชทานอาชีพ
การเลี้ยงโคนมให้แก่ปวงชนชาวไทย  และปลูกฝังการเลี้ยงโคนมให้มั่นคงยั่งยืน  ด้วยเป็นอาชีพที่นอกจาก
จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว  ยังเป็นอาชีพที่ต้องมีความร่วมมือ ร่วมใจ โดยมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็น
สหกรณ์ อันก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน
มีวินัย
อาชีพการเลี้ยงโคนม นอกจากต้องใช้ความอดทนแล้ว ยังต้องมีวินัยในตนเอง เช่น การตื่นตั้งแต่เช้า
เพื่อรีดนม การให้อาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีผลต่อปริมาณผลผลิต
ของน้ำนมที่จะได้
ใฝ่ศึกษา
เกษตรกรที่เลี้ยงโคนมต้องเป็นผู้ใฝ่ศึกษา โดยหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เกี่ยวกับ
เทคโนโล่ยีใหม่ ๆ ทั้งเรื่องของการป้องกันโรค หรือเพิ่มผลผลิตของปริมาณน้ำนม และยังเป็นการช่วย
ประหยัดแรงงานในอนาคต
บูชาคุณธรรม
อาชีพการเลี้ยงโคนมนอกจากจะเป็นอาชีพพระราชทานที่เกษตรกรทุกคนต้องสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแล้ว
ยังต้องประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม โดยไม่ใส่น้ำหรือแป้งปลอมปนไปกับน้ำนม เพียง
เพื่อหวังให้ได้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น
นำชุมชน
ความสำเร็จที่ได้จากการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม ส่งผลโดยตรงต่อชีวิตของคนในชุมชน
ทั้งในเรื่องของฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น  ทั้งในเรื่องของความสามัคคี ตลอดทั้งนำพาให้ชุมชนเป็นชุมชน
ที่เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น